การทำ Redirect แบบ ธรรมดา (URL Redirect) กับ แบบ URL Frame เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ท่าน สามารถ login เข้าไปที่ Control panell แล้วเลือกหัวข้อ Redirect ระบบจะกำหนดให้เลือกชนิดของการทำ Redirect และ กรอก URL ที่ต้องการให้ Redirect ไป
URL Redirect เป็นการ Redirect Domain name เพื่อให้ชี้โดเมนไปยัง URL ที่ต้องการตามที่ได้กรอกมาในช่องของ URL Redirect
URL Frame มีการทำงานที่คล้ายๆ กับ URL Redirect แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ เมื่อมีการ Redirect แล้วค่า Domain จะไม่เปลี่ยนไปตาม URL Redirect นั้นๆ
ที่มา http://www.hostpacific.com/a/support/index.php?_m=knowledgebase&_a=viewarticle&kbarticleid=78&nav=0,2,6
URL Redirect
ความหมายของ URL Redirect ปกติ แล้วใน Web Server จะมีไฟล์ที่เป็นไฟล์แรกสำหรับการแสดงเพจหน้าแรกซึ่งจะวางอยูในตำแหน่ง document root แต่ในบางครั้งเมื่อผู้ใช้มีการเรียกเข้ามาที่ url หรือ ไฟล์ดังกล่าวบน Web Server แล้ว อาจจะมีความจำเป็นที่ url ดังกล่าวยังไม่พร้อมที่จะให้บริการ เราก็สามารถจะเขียน code ในไฟล์ดังกล่าว ให้มีการเปลี่ยนเส้นทางไปเรียกไฟล์อื่นซึ่งอาจจะอยู่ในอีกไดเร็คทอรี่หรือ อีกโฟลเ[คำไม่พึงประสงค์]ร์บน Web Server ตัวเดียวกันหรืออาจจะเปลี่ยนเส้นทางไปเป็น Web Server อีกตัวก็ได้
ใน การให้บริการ Web hosting ซึ่งก็คือการให้เช่าเนื้อที่บน Web Server สำหรับการสร้างเว็บเพจ นั่นก็หมายถึงว่าบน Web Server เพียงเครื่องเดียวจะต้องให้บริการสำหรับหลาย ๆ เว็บไซต์ ปัญหาที่จะตามมาก็คือว่า การจดทะเบียนโดเมน จะต้องมีการเพิ่มข้อมูลลงใน DNS ว่าจะให้ชี้โดเมนแต่ละโดเมนไปที่ IP Address ไหน นั่นก็หมายถึงว่าถ้าเป็นบริการ Web Hosting โดเมนทุกโดเมนที่มีการใช้เนื้อที่บน Web Sever เครื่องเดียวกันก็จะต้องมีการชี้ไปยัง IP อันเดียวกัน เมื่อเป็นแบบนี้ ไฟล์ที่เป็นไฟล์หลักในตำแหน่ง document root บน Web Server ดัวกล่าว จะต้องมีการเขียน code เพื่อตรวจจับว่า url ที่เรียกมาเป็น url อะไร และจะชี้ไปที่โฟลเ[คำไม่พึงประสงค์]ร์ไหนของ Web Server
วิธีการเขียนโค้ดจากที่กล่าวมาก็คือการเขียนโค้ดของ url redirect นั่นเอง
การ redirect แบบง่าย การ redirect แบบง่ายสามารถทำได้ด้วยการใช้ meta tag ของ html code ดังตัวอย่างต่อไปนี้ :
<html> <head> <META HTTP-EQUIV="Refresh" CONTENT="0;URL=http://www.yourname.com"> </head> </html>
ซึ่งถ้าเอา source code ข้างบนนี้ไปเป็นไฟล์หลักในตำแหน่ง document root บน Web Server ก็จะทำให้เว็บเพจถูก redirect ไปยัง http://www.yourname.com โดยทันที เพราะค่าของ CONTENT=0 แต่ถ้าต้องการหน่วงเวลาให้ผู้ใช้ได้อ่านข้อความบางอย่าง ก่อนการ redirect ก็สามารถทำได้ด้วยการกำหนดค่า CONTENT ไม่เป็น 0 ดังตัวอย่างต่อไปนี้ :
<html> <head> <META HTTP-EQUIV="Refresh" CONTENT="5;URL=http://www.yourname.com"> </head> <body> <center> เว็บไซต์ของเรามีการเปลี่ยนเป็นชื่อใหม่แล้ว การเข้ามาเว็บไซต์ของเราครั้งต่อไป กรุณาใช้ชื่อ <a href="/http://www.yourname.com">www.yourname.com</a> </center> </body> </html>
แต่วิธีการ redirect แบบข้างบนนี้จะทำให้ชื่อ url ตรงช่อง address ของ browser ถูกเปลี่ยนไปเป็นชื่อใหม่ คือ http://www.yourname.com วิธีการ redirect ที่ไม่ต้องการให้ชื่อ url เปลี่ยนเป็นอันใหม่ ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าจะมีวิธีการทำที่ง่ายกว่าของผมหรือเปล่า ถ้าใครมีวิธีที่ง่ายกว่า ช่วยเมล์มาบอกด้วยก็แล้วกันครับ ในส่วนวิธีของผมนั้นใช้คำสั่ง frame (อาจจะเรียกว่า frame redirect หรือ frame to URL) ดังต่อไปนี้ครับ :
<html> <head> <title>เพจนี้เป็นการ redirect ครับ</title> </head> <frameset cols="*"> <frame src="/http://www.anydomain.xxx/yourname"> </frameset> </html>
โค้ดการ redirect ข้างบนนี้ชื่อของ url จะไม่ถูกเปลี่ยนไปเป็นชื่อใหม่ครับ
วิธีการเขียนโค้ดของ url redirect สำหรับ Web hosting (บอกกล่าว กันก่อน-->โค้ดที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ผมเขียนขึ้นมาจากประสบการณ์ (เท่าที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ครับ) ไม่ทราบเหมือนกันว่าที่เขาให้บริการ Web hosting จริง ๆ จะใช้เหมือนของผมหรือเปล่า ถ้ามีวิธีการที่ดีกว่านี้ช่วยเมล์มาบอกด้วยก็แล้วกัน)
จากที่ได้ กล่าวมาแล้วนะครับว่าบริการ Web hosting นั้นตัว Webserver ที่ให้บริการนั้นจะถูกชี้มาจาก DNS Serer หลาย ๆ โดเมน ดังนั้นใน Web Server เองจะต้องมีการตรวจจับเสียก่อนว่า url ที่ผู้ใช้เรียกมาเป็น url อะไร เพื่อจะได้ชี้ไปยังตำแหน่งที่ถูกต้องจริง ๆ ของแต่ละโดเมน
ตัวอย่าง ที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้มี 2 ตัวอย่าง ครับ ตัวอย่างแรก เป็นแบบที่ชื่อของ url ถูกเปลี่ยนเป็นชื่อใหม่ และตัวอย่างที่สอง เป็นแบบที่ชื่อของ URL ไม่ถูกเปลี่ยนเป็นชื่อใหม่ (frame redirect)
สมมุติว่า Web Server ถูกชี้มาจาก DNS Server จำนวน 2 โดเมน ดังนั้นไฟล์ที่เป็นไฟล์หลักในตำแหน่ง doucument root บน Web Server ต้องมีการตรวจสอบก่อนว่าผู้ใช้ต้องการเรียกไปยังโดเมนไหน โดยใช้ javascript เข้ามาช่วย และเมื่อรู้แล้วว่าผู้ใช้ต้องการเข้าสู่โดเมนไหน ก็จะต้องสั่งให้ไปยังตำแหน่งไฟล์จริง ๆ ของโดเมนนั้น ๆ ดังนี้ :
<html> <head> <script langquage='javascript'> var url=document.location; //ตรวจสอบว่าผู้ใช้ต้องการเรียกเข้าสู่โดเมนไหน if ((url=="http://www.firstdomain.com") || (url=="http://www.firstdomain.com/")) { window.location="http://www.yourdomain.xxx/firstdomain"; } else if ((url=="http://www.seconddomain.com") || (url=="http://www.seconddomain.com/")) { window.location="http://www.yourdomain.xxx/seconddomain"; } else { window.location="http://www.yourdomain.xxx/underconstruction.html"; } </script> </head> </html>
และ จากตัวอย่างเดียวกันนี้ถ้าต้องการไม่ให้ url ในช่อง address ของ browser ไม่มีการเปลี่ยนไปเป็นตำแหน่งที่แท้จริง ก็ทำได้ด้วยการใช้คำสั่ง frame เข้ามาช่วยดังต่อไปนี้ :
<html> <script langquage='javascript'> url=document.location; if ((url=="http://www.firstdomain.com") || (url=="http://www.firstdomain.com/")) { document.write("<head><title>www.firstdomain.com</title></head>"); document.write('<frameset cols="*">'); document.write('<frame src="/http://www.yourdomain.xxx/firstdomain">'); document.write("</frameset>"); } else if (url=="http://www.seconddomain.com") || (url=="http://www.seconddomain.com/")) { document.write("<head><title>www.seconddomain.com</title></head>"); document.write('<frameset cols="*">'); document.write('<frame src="/http://www.yourdomain.xxx/seconddomain">'); document.write("</frameset>"); } else { document.write('<frameset cols="*">'); document.write('<frame src="/http://www.yourdomain.xxx/underconstruction.html">'); document.write("</frameset>"); } </script> </html>
|