top
logo

English Chinese (Simplified) French Japanese Thai

สถิติผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้17
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้73
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้17
mod_vvisit_counterเดือนนี้2103
mod_vvisit_counterรวม686239

สมาชิกออนไลน์

เรามี 8 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

 


คัดค้านการใช้หลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะ(ใหม่) PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ครูธวัชชัย บุญช่วย   
วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2009 เวลา 12:03 น.

จากการที่ กคศ. ได้ออกหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือ กคศ. ที่ ว.๑๗/๒๕๕๒ นั้น

สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) มีความเห็นว่า หลักเกณฑ์และวิธีการไม่ได้มีความแตกต่างจาก ว.๒๕ เดิม กล่าวคือ

การประเมินมี ๓ ด้าน ได้แก่

๑. ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
๒. ด้านความรู้ความสามารถ
๓. ด้านผลการปฏิบัติงาน

โดยเฉพาะในด้านที่ ๓ ได้แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ

ส่วนที่ ๑ ผลการพัฒนาผู้เรียน ที่ต้องมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนน o-net คะแนน NT

ส่วนที่ ๒ ผลงานทางวิชาการ มีรายละเอียดของรายงานการศึกษาค้นคว้า หรือผลการวิจัยในชั้นเรียน หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ๆ โดยต้องมีการสอดแทรกแนวคิด ทฤษฎี และองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อ สรุปสู่องค์ความรู้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คือ การเขียนวิจัย ๕ บท ทำให้เห็นว่า การที่ กคศ. ให้ข่าวว่าได้มีการปรับปรุง หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินแล้วนั้น เป็นเรื่องที่ไม่เป็นความจริง เพราะยังมีการตรวจประเมิน ๓ ด้าน อย่างเดิม ส่วนด้านที่ ๓ ยังแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ยังมีการทำผลงานทางวิชาการ และเขียนวิจัย ๕ บท ซึ่งไม่ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน ซ้ำเป็นการดึงครูออกจากห้องเรียน อันจะส่งผลให้คุณภาพการศึกษาตกต่ำมากยิ่งขึ้น

สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) จึงมีมติ ไม่เห็นด้วยกับหลักเกณฑ์ การประเมินวิทยฐานะ ตาม ว.๑๗/๒๕๕๒ ขอให้ กคศ.ทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน ให้เป็นการประเมินแบบเชิงประจักษ์ อย่างแท้จริง โดยในช่วงเวลาที่ทบทวนการใช้เกณฑ์ ให้นำหลักเกณฑ์การประเมินตาม ว.๒๕ มาใช้เป็นการชั่วคราว

 
หลักสูตรท้องถิ่น กับความหวังการปฏิรูปการศึกษาที่ยังห่างไกล PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ครูธวัชชัย บุญช่วย   
วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม 2009 เวลา 21:05 น.

โดย นุชฤดี รุ่ยใหม่ นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

เรื่องของการปฏิรูปการศึกษาผ่านเวลาสำหรับความพยายามมามากกว่า 10 ปี จนปัจจุบันเป็นความพยายามรอบ 2 แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ หรือแม้กระทั่งใกล้เคียงกับคำว่าสำเร็จเพราะการปฏิรูปการศึกษาต้องทำพร้อมๆ กันหลายด้าน ขณะเดียวกันก็ต้องอาศัยความเข้าใจ ความร่วมมือ และความทุ่มเทจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง ไม่ใช่เป็นประเด็นที่ยกมากล่าวอ้างเพื่อเป็นแค่แนวทางการทำงานเท่านั้น

ในเมื่อการศึกษามีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องหลายด้าน การปฏิรูปการศึกษาก็ต้องพัฒนาองค์ประกอบเหล่านั้นไปพร้อมๆ กัน ทั้งเรื่องของผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สื่อ สถานที่เรียน เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่องหลักสูตรอาจเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดที่ต้องเร่งปรับปรุง แก้ไข และดำเนินการโดยด่วน
ปัญหาของหลักสูตรและการศึกษาไทยที่ผ่านมา คือ มีการกำหนดหลักสูตรจากส่วนกลางเนื้อหาหลายด้านจึงไม่เหมาะสมกับท้องถิ่น การจัดการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ได้ผล เนื่องจากยังไม่สามารถสอนให้เด็กคิดเป็นระบบ ปลูกฝังให้มีนิสัยรู้จักวิเคราะห์หาเหตุผล และหาแนวทางแก้ไขตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้

อ่านเพิ่มเติม...
 
สวนดุสิตแนะจัดกิจกรรมปฐมวัยสร้างเด็กอัจฉริยะ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ครูธวัชชัย บุญช่วย   
วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2009 เวลา 11:54 น.

ผศ.เต็มสิริ เนาวรังสี อาจารย์ประจำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต(มสด.) กล่าวในการประชุมสัมมนา การเล่นเพื่อความเป็นอัจฉริยะของเด็กปฐมวัย ว่า ปัจจุบันการเล่นของเด็กเล็กไม่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ ตลอดจนไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับตัวเด็กเอง เช่น การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ หรือดูโทรทัศน์เป็นเวลานานๆ ซึ่งส่งผลทำให้เด็กเกิดความก้าวร้าว หรือขาดสมาธิในการเรียนได้

เพราะฉะนั้นเพื่อให้ความสำคัญกับการเล่นของเด็ก จึงอยากให้มีพ่อแม่ ครูผู้สอน นักศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและผู้ที่เกี่ยวข้องได้เห็นความสำคัญและนำ ความรู้ที่ได้ในการสัมมนาไปเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนเด็ก ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ผศ.เต็มสิริกล่าว
ผศ.เต็มสิริกล่าวต่อว่า พ่อแม่ ครูผู้สอน รวมถึงนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัย ต้องให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย ในการเตรียมความพร้อมทั้ง ร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ โดยจัดกิจกรรม หรือจัดการเรียนการสอนให้เด็กได้รู้จักการเล่นที่เหมาะสมกับวัย คำนึงถึงความปลอดภัย เล่นแล้วสนุกก่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยสอดแทรกเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ก่อให้เกิดการพัฒนา เสริมสร้างนวัตกรรมในท้องถิ่นหรือชุมชนที่มีอยู่ เพื่อประกอบการเล่นหรือสอดแทรกในการเรียนการสอน เช่น การเล่นแบบไทยในวัฒนธรรมท้องถิ่น การสอนให้เล่นรู้จักแพ้ชนะเพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการด้านสติปัญญาและการ เรียนรู้สิ่งใหม่

 
สพฐ.เพิ่งตื่นปั้นเด็กปฐมวัย รู้รักบ้านเกิด-ทำงานท้องถิ่น PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ครูธวัชชัย บุญช่วย   
วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2009 เวลา 11:53 น.

สพฐ.เล็งปั้นเด็กปฐมวัยให้เด็กรู้รักบ้านเกิดเน้นทำงานร่วมกับท้องถิ่น ให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก
ดร.สม เกียรติชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำลังเขียนโครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นโครงการที่ทำร่วมกันระหว่าง สพฐ.และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ครบทุกด้านควบคู่กับมีความผูกพันกับชุมชนจึงจำเป็น ต้องให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก
รองเลขาธิการกพฐ.กล่าวต่อว่า เด็กส่วนใหญ่ที่อยู่ตามชนบท จะต้องออกไปเรียนต่อระดับประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษาภายนอกหมู่บ้าน ทำให้ไม่ผูกพันกับหมู่บ้าน แต่ถ้าเด็กรุ่นใหม่ที่ได้รับโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ใช้โครงการต้วมเตี้ยมเลี้ยงเตาะแตะ โดยให้ผู้ใหญ่ในหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วมกับการพัฒนาเด็กในโรงเรียน ซึ่งทำให้เด็กรู้สึกผูกพันกับผู้ใหญ่ เมื่อโตจะกลับไปช่วยชุมชนเพิ่มมากขึ้น และทำให้เด็กมีจิตอาสา
ลำพังครู สอนแล้วก็เลิกรากันไปเด็กไม่เกิดความรู้สึกรักบ้านเกิด ถ้ามีคนในชุมชนเข้ามาช่วยดูแล เชื่อว่าจะทำให้เด็กผูกพัน มีจิตใจที่ดี หรือที่เรียกว่าจิตสาธารณะ หากทำต่อเนื่อง 6 ปีจะดูว่าเด็กมีผลการเรียนดีขึ้นหรือไม่ และช่วยเหลือสังคมหรือไม่ คาดจะเริ่มดำเนินการปีงบประมาณ 2551 นี้ ทั้งนี้สภาการศึกษาและมูลนิธิของดร.รุ่ง แก้วแดง จะตั้งสถาบันพัฒนาการปฐมวัยขึ้น และในวันที่ 28 มกราคมนี้ จะระดมทรัพยากรที่รู้เรื่องปฐมวัยเข้ามาช่วยพัฒนาเด็กปฐมวัย ดร.สมเกียรติ กล่าว

 

 
นักเรียนหญิงเกเรหนักหนีเรียนมากกว่าผู้ชาย PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ครูธวัชชัย บุญช่วย   
วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2009 เวลา 11:52 น.

นายสุรเทพ ตั๊นประเสริฐ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานที่ประชุมผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ (สป.ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมผู้บริหารหน่วยงานฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน ได้รายงานผลการจัดบุคลากรออกไปปฏิบัติหน้าที่สายตรวจร่วมกับศูนย์เสมารักษ์ และเฝ้าระวังความประพฤตินักเรียน ระหว่างเวลา 16.30-20.30 น. ตั้งแต่วันที่ 5 ม.ค.-16 ม.ค. 2552 จำนวน 39 ครั้ง รวมทั้งออกตรวจในพื้นที่เสี่ยง พบนักเรียนหนีเรียน หรือออกนอกสถานศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วงเวลาเรียนทั้งสิ้น 338 คน เป็นชาย 145 คน และหญิง 193 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการทั้งการอบรมว่ากล่าวตักเตือน ให้ไปรายงานตัวที่สถานศึกษา นำส่งสถานศึกษา และแจ้งให้ผู้ปกครองมารับตัว ซึ่งตนได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังพฤติ กรรมของนักเรียน นักศึกษา ให้มากยิ่งขึ้นรวมทั้งประสานหาเครือข่ายติดตามเฝ้าระวังให้กว้างขวางขึ้น ด้วย.

 
« เริ่มแรกย้อนกลับ616263ถัดไปสุดท้าย »

หน้า 63 จาก 63

ผู้อำนวยการโรงเรียน

 


นางรัชดา ผูกพยนต์
ผู้อำนวยการโรงเรียน

..................

รองผู้อำนวยการโรงเรียน

นายชนินทร์  วงศ์แก้ว
รองผู้อำนวยการโรงเรียน

แบบสำรวจ

คุณอยากให้โรงเรียนพัฒนาและส่งเสริมด้านใดมากที่สุด
 

ข่าวการศึกษา

 


bottom

เว็บไซด์โรงเรียนชนแดนวิทยาคม สงวนลิขสิทธิ์ © 2552 โรงเรียนชนแดนวิทยาคม
โรงเรียนชนแดนวิทยาคม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ 67150 โทรศัพท์ :056-761262, โทรสาร : 056-761261, E-mail :cdw@cdw.ac.th
Design By Information&Computer Technology : Chondaenwittayakom School